มูลนิธิเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเลแห่งชาติไต้หวัน จัดตั้งศูนย์อนุรักษ์ปะการังปราศจากคาร์บอนสำหรับปะการังที่ใกล้สูญพันธุ์แห่งแรกในเอเชีย

407
0
Share:

มูลนิธิเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเลแห่งชาติไต้หวัน (NMMST) ร่วมกันเปิดศูนย์อนุรักษ์ปะการัง ‘เฉาจิ้ง (Chaojing)’ เมื่อวันที่ 23 กันยายนที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูปะการังที่ทราบกันในระดับสากลว่าใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งศูนย์ฯ แห่งนี้มุ่งมั่นที่จะสร้างเรือนกระจกที่เหมาะสมและประหยัดพลังงานสำหรับการเจริญเติบโตของปะการังด้วยการใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญของเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ด้านระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรมและอาคาร และโซลูชันการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการจัดการสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะแบบบูรณาการ ปะการังที่มียีนทนความร้อนจะถูกคัดเลือกและย้ายไปยังพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรอ่าวหวังไห่เซียงเฉาจิ้ง คาดว่าจะสามารถฟื้นฟูปะการังได้มากกว่า 10,000 ตัวภายใน 3 ปี นอกจากนี้ เดลต้าช่วยสนับสนุนโซลูชันพลังงานทดแทนเพื่อช่วยให้ศูนย์อนุรักษ์ปะการังเฉาจิ้งกลายเป็นศูนย์อนุรักษ์ปะการังแห่งแรกในเอเชียที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ได้สำเร็จ

 

 

นายบรูซ เจิ้ง ผู้ก่อตั้งเดลต้าและประธานมูลนิธิเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ กล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศทั่วโลกกำลังทวีคูณความรุนแรง และจากงานวิจัยจากองค์การสหประชาชาติ (UN) คาดการณ์ว่า 70% ถึง 90% ของแนวปะการังอาจสูญพันธุ์ ในขณะที่หนึ่งในสี่ของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลอาจสูญเสียถิ่นที่อยู่หากอุณหภูมิโลกสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ดังนั้นมูลนิธิเดลต้าจึงได้เปิดตัวโครงการฟื้นฟูปะการังเมื่อปี 2564 ศูนย์อนุรักษ์ปะการังเฉาจิ้งแห่งใหม่นี้จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเดลต้าและ NMMST ด้วยเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติของเดลต้าที่สนับสนุนกระบวนการสำคัญในการวิจัยปะการังที่ทนทานต่อความร้อน สิ่งนี้จะช่วยให้ปะการังในไต้หวันและบริเวณอื่นๆ พัฒนาความสามารถในการทนทานต่อความร้อนได้ดีขึ้นเมื่อเผชิญกับคลื่นความร้อนในทะเลอย่างต่อเนื่อง”

ซู-เฟิน เฉิน อธิบดีพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเลแห่งชาติไต้หวัน (NMMST) เน้นย้ำว่า “นอกจากการเป็นฐานอนุรักษ์แห่งแรกและแห่งเดียวในไต้หวันที่บูรณาการกับพื้นที่คุ้มครองทางทะเล ศูนย์อนุรักษ์ปะการังเฉาจิ้งจะยังเป็นแหล่งการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญอีกด้วย ประชาชนสามารถมาเยี่ยมชมได้โดยจะมีภัณฑารักษ์พิพิธภัณฑ์และอาสาสมัครจากเดลต้ามาคอยให้ความรู้และได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของปะการังต่อระบบนิเวศ อีกทั้งยังสามารถสัมผัสประสบการณ์การปลูกปะการังเพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพในท้องทะเลและเพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์แห่งท้องทะเล”

นางชาน ชาน กัว หัวหน้าฝ่ายแบรนด์องค์กรของเดลต้าและรองประธานมูลนิธิเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ กล่าวเน้นย้ำว่า “จีหลง เป็นเมืองที่สวยงามซึ่งตั้งอยู่บริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างภูเขาและทะเล นอกจากนี้นักวิชาการหลายคนยังมองว่าบริเวณดังกล่าวคือเรือโนอาห์สำหรับปะการังในขณะที่พวกมันอพยพไปทางเหนือ เนื่องจากอุณหภูมิน้ำโดยรอบของไต้หวันที่อุ่นขึ้น โดยมูลนิธิเดลต้ารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านปะการังจากพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเลแห่งชาติไต้หวัน ซึ่งนอกเหนือไปจากการให้ความช่วยเหลือในการจัดตั้งศูนย์และการใช้งานในอุปกรณ์เพาะพันธุ์อัตโนมัติของเดลต้าแล้ว เรายังทำงานร่วมกันในโครงการวิจัยกับเหล่าผู้เชี่ยวชาญและร่วมมือกับองค์กรอนุรักษ์ต่างๆ เพื่อส่งเสริมและขยายขอบเขตการศึกษาทางทะเล เราขอขอบคุณผู้เชี่ยวชาญทุกๆ ท่านที่มีส่วนช่วยแนะแนวทางให้เดลต้าตลอดมา และหวังว่าความมุ่งมั่นของเดลต้าจะช่วยกระตุ้นให้ผู้คนในไต้หวันตระหนักถึงคุณค่าในการฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยของปะการังและร่วมกันอนุรักษ์ปะการังมากขึ้น”

ศูนย์อนุรักษ์ปะการังเฉาจิ้ง (Chaojing Coral Conservation Center) ตั้งอยู่ติดกับเขตอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลอ่าววั่งไห่เซี่ยงเฉาจิ้ง เมืองจีหลง (Wanghaixiang Chaojing Bay Resource Conservation Area) และสร้างขึ้นด้วยเงินทุนกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯโดยมูลนิธิเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ด้วยการบูรณาการระบบการทำฟาร์มปะการังที่มีประสิทธิภาพสูงและระบบอาคารอัตโนมัติอัจฉริยะ ทำให้พื้นที่ดังกล่าวสามารถรองรับการปลูกต้นกล้าปะการังได้ประมาณ 6,000 ต้น ทั้งนี้ปัจจุบันศูนย์อนุรักษ์ได้คัดเลือกพันธุ์ปะการังพื้นเมืองของใต้หวันที่ใกล้สูญพันธุ์กว่า 20 สายพันธุ์ เช่น ปะการังจาน (Turbinaria reniformis), ปะการังกาแล็กซี่ (Galaxea astreata) และปะการังลายดอกไม้ (Pavona cactus) ซึ่งอยู่ในรายชื่อปะการังที่ใกล้สูญพันธุ์และเปราะบางของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ทั้งยังได้รับการระบุให้เป็นสายพันธุ์ที่ต้องได้รับการคุ้มครองเป็นกลุ่มแรกๆ มาอนุรักษ์ไว้ที่ศูนย์ และปะการังเหล่านั้นได้รับการยืนยันผ่านการจำแนกทางอณูชีววิทยา (Molecular biology) ว่าเป็นสายพันธุ์ในท้องถิ่นโดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro CT) ของเดลต้า เพื่อสร้างภาพความละเอียดสูงถึง 1 ไมโครเมตร (μm) รวมทั้งสร้างฐานข้อมูลโครงกระดูกแคลเซียมคาร์บอเนตของปะการังที่ใกล้สูญพันธุ์ โดยมูลนิธิเดลต้ายังคงเดินหน้าร่วมมือกับ NMMST และองค์กรอนุรักษ์หลายองค์กรเพื่อดำเนินโครงการศึกษาต่างๆ ทำให้ผู้คนจำนวนมากสามารถมีส่วนร่วมในหลักสูตรการฟื้นฟูปะการังที่นำเสนอโดยศูนย์อนุรักษ์ได้มากขึ้น พร้อมมีความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของระบบนิเวศปะการังที่มีต่อระบบนิเวศทางทะเลของไต้หวัน ซึ่งการปรับเปลี่ยนตั้งแต่เนิ่นๆ นี้สามารถช่วยลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มีต่อระบบนิเวศของไต้หวันได้

 

Share: