SME ต่อยอดธุรกิจจากแนวทางส่งเสริม EV 30@30

518
0
Share:

นโยบาย 30@30 เป็นที่พูดถึงมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2021 จนมาถึงปัจจุบันที่นวัตกรรมและเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทยแพร่หลายมากขึ้น และ EV ทั่วโลกกำลังตื่นตัวและก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว รวมถึงเริ่มเห็นทิศทางของ EV ในประเทศไทยชัดเจนขึ้น finbiz by ttb จึงขอขยายความแนวทาง 30@30 เพื่อให้ SME เห็นโอกาสในการต่อยอดธุรกิจให้เติบโตได้

 

 

30@30 คืออะไร
แนวทางส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) 30@30 เป็นนโยบายของคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ที่ตั้งเป้าหมายการผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในประเทศไทย ภายในปี 2030 เพื่อผลักดันประเทศไทยให้ก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยมีนโยบายส่งเสริม ดังนี้
1. ส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน ให้ไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ
2. ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งมาตรการทางภาษีและที่ไม่ใช่ภาษี
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับยานยนต์ไฟฟ้า เช่น สถานีอัดประจุและสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ พัฒนากฎหมายและระเบียบต่างๆ ให้เหมาะกับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า

EV ก้าวหน้าไว จุดหมายไม่ไกลเกินเอื้อม
จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ตั้งแต่ปี 2021 ปัจจุบันข้อมูลการลงทุนล่าสุดเมื่อปลายปี 2023 จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้ให้การส่งเสริมอุตสาหกรรม EV จำนวน 103 โครงการ เงินลงทุนรวม 77,192 ล้านบาท
• รถยนต์ EV จำนวน 18 โครงการ มูลค่า 40,004 ล้านบาท
• รถจักรยานยนต์ EV จำนวน 9 โครงการ มูลค่า 848 ล้านบาท
• รถบัส EV และรถบรรทุก EV จำนวน 3 โครงการ มูลค่า 2,200 ล้านบาท
• แบตเตอรี่สำหรับรถ EV และระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) จำนวน 39 โครงการ มูลค่า 23,904 ล้านบาท
• ชิ้นส่วนสำคัญ จำนวน 20 โครงการ มูลค่า 6,031 ล้านบาท
• สถานีอัดประจุไฟฟ้า จำนวน 14 โครงการ มูลค่า 4,205 ล้านบาท

นอกจากนี้ นโยบายด้านภาษีในการสนับสนุนรถขนาดใหญ่ ได้แก่ รถโดยสารไฟฟ้า (E-Bus) และรถบรรทุกไฟฟ้า (E-Truck) ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการซื้อรถโดยสารไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้า โดยมาตรการนี้จะมีผลตั้งแต่พระราชกฤษฎีกาที่กระทรวงการคลังจะออกมาประกาศใช้ซึ่งจะมีผลไปจนถึงสิ้นปี 2025 โดยคาดว่าจะมีรถทั้งสองประเภทที่เป็นรถ EV ในโครงการนี้แบ่งเป็นรถบัสประมาณ 6,000 คัน และรถบรรทุกประมาณ 4,000 คัน และยังมีนโยบายสนับสนุนการลงทุนในโรงงานแบตเตอรี่ที่บีโอไอและคณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศพิจารณาตามเงื่อนไขอีกด้วย จากปัจจัยทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าเป้าหมาย 30@30 นั้นไม่ไกลเกินเอื้อม โดยได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

SME เตรียมตัวขานรับแนวทาง 30@30
จากการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า จึงเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายสำหรับ SME โดยจะสร้างโอกาสให้สามารถเข้าร่วมในห่วงโซ่อุปทานของ EV ได้ แต่อาจต้องปรับตัว เปลี่ยนแปลงธุรกิจเดิมเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งสิ่งที่ SME ควรทำได้แก่
1. ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแนวทาง 30@30 หาช่องทางโอกาสและพิจารณาจุดแข็งของธุรกิจ เพื่อปรับธุรกิจให้ตอบสนองและมีความพร้อมอยู่เสมอ
2. ประเมินศักยภาพของธุรกิจ เมื่อพบช่องทางแล้วจึงประเมินศักยภาพ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางนั้นได้
3. พัฒนากลยุทธ์ เพื่อเข้าร่วมในห่วงโซ่อุปทานของ EV กำหนดเป้าหมาย แนวทาง และวิธีการดำเนินการ
4. เตรียมตัวขอรับการสนับสนุน หาข้อมูลและขอการสนับสนุนหรือพัฒนาร่วมกันกับพันธมิตรทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หาแหล่งเงินทุนและสถาบันทางการเงินที่จะช่วยหนุนให้การพัฒนาธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น

SME มีแหล่งเงินทุน…ก้าวทันโอกาส
จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาด EV และการสนับสนุนการใช้งานรถ EV จากภาครัฐ ผู้ประกอบการสามารถเห็นความได้เปรียบจากการที่องค์กรเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ EV ซึ่งในการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นซื้อรถเพิ่ม หรือเปลี่ยนรถใหม่ก็ตาม SME ย่อมไม่ต้องการใช้เงินสดในธุรกิจมาลงทุน ซึ่งปัจจุบันก็มีโซลูชันทางการเงินมารองรับ อย่างสินเชื่อรถยนต์เพื่อธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอี ที่อนุมัติเร็วภายใน 3 วัน สมัครครั้งเดียว สามารถทยอยออกรถภายใต้วงเงินที่ได้รับ ภายในระยะเวลาสูงสุด 12 เดือน โดยไม่ต้องมีหลักประกันเพิ่ม อัตราดอกเบี้ยพิเศษและคงที่ตลอดอายุสัญญา และยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่น่าสนใจในด้านการบริหารจัดการการเงินสำหรับยานยนต์ในธุรกิจจาก ttb automotive solutions ที่พร้อมให้ผู้ประกอบการ SME ใช้บริการ

หรือ หากผู้ประกอบการมองเห็นช่องทางในการขยายธุรกิจต่อยอดเพื่อตอบรับการเติบโตของ EV ทีทีบีก็มีสินเชื่อที่สามารถมาตอบสนองแผนต่อยอดของธุรกิจ SME ได้ อย่างสินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอี สมาร์ทบิส (ttb sme smart biz) (https://www.ttbbank.com/th/sme/sme-sustainable-and-sufficient-funding/credit-with-collateral/ttb-smart-biz) สินเชื่อธุรกิจสำหรับเอสเอ็มอี แบบใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน สามารถใช้รีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ SME ได้ เพื่อใช้ในการบริหารงาน เสริมสภาพคล่อง หรือลงทุนต่อยอดธุรกิจ ให้วงเงินสูงสุด 50 ล้านบาท ประกอบไปด้วยสินเชื่อหมุนเวียนและสินเชื่อระยะยาวในสัดส่วนที่เหมาะสมและเพียงพอกับความต้องการทางธุรกิจแต่ละประเภท สามารถตรวจสอบวงเงิน OD ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เหมาะกับ SME ที่จะพัฒนาต่อยอด สนใจผลิตภัณฑ์สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าธุรกิจ หรือ ศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต โทร. 0 2643 7000

Share: