มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล ในพระราชูปถัมภ์ฯ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานหวังพลิกโฉมการแพทย์ไทย ผสานกระบวนการคิด Design Thinking เข้ากับการวิจัยทางการแพทย์ มุ่งสร้างนวัตกรรมอันล้ำหน้า พร้อมระดมทุนเพื่อการรักษามะเร็งด้วยการใช้เซลล์บำบัด

38
0
Share:

มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน “Human Intreraction for Systemetic Innovation” ครั้งแรกกับการรวมตัวของนวัตกรระดับโลก กูรูด้านบริหารจัดการและนักวิจัยด้านการแพทย์ เพื่อพลิกโฉมการแพทย์ไทย จากกระบวนการคิด Systematic Framework ที่ทำให้เกิดนวัตกรรมที่สร้างผลกระทบในการสร้างเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการ Kickoff โครงการระดมทุนเพื่อการรักษาโรคมะเร็งด้วยการใช้เซลล์แทนเคมีบำบัด กองทุนมูลนิธิมหิดลเพื่อความยั่งยืน มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หวังทำโรงงานยาที่มีชีวิต หรือ MU-Bio Plant สร้างยาจากเซลล์ที่มีชีวิต (Living Drug) เป็นกลุ่มยา ATMP แห่งแรก เพื่อขยายผลสู่การผลิตยาเพื่อผู้ป่วยมะเร็งและโรคร้ายแรงในประเทศไทย และภูมิภาค ตอบโจทย์ความท้าทายทางสุขภาพในปัจจุบันและอนาคต

 

 

ดร.สมศักดิ์ ลีสวัสดิ์ตระกูล นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ และกรรมการมูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดลในพระราชูปถัมภ์ มองว่า โลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นไปแบบก้าวกระโดด จึงต้องเน้นทั้งการเรียนรู้ภายในองค์กรและนำการเรียนรู้ และการสร้างประสบการณ์จากภายนอกเข้ามาประยุกต์ใช้ แม้มหาวิทยาลัยมหิดลจะมีความเข้มแข็งอย่างมาก ในด้านงานวิจัยและนวัตกรรมต่างๆ ใช้ความเชี่ยวชาญที่ครบถ้วนในสหสาขาวิชาสร้างกลไก ในการเชื่อมโยงและกำหนดทิศทางประสานความร่วมมือเข้ามาช่วยขับเคลื่อนและร่วมพัฒนาประเทศ แต่การจะสร้าง Innovation ต้องเป็นไปอย่าง Systematic เพื่อก่อให้เกิดการต่อยอดและนำไปใช้ได้จริง เกิดโซลูชันที่หลากหลาย ตอบสนองความต้องการของสังคม ไปสู่ผลสำเร็จใน Real World Impact คือ นอกจากจะพัฒนา ด้วยระบบการให้บริการงานวิจัยและนวัตกรรมใหม่แล้ว ยังมีเรื่องงานวิจัยยาและการรักษาที่เป็นความหวังของผู้ป่วย งาน Human Interaction for Systematic Innovation จึงเป็นโครงการคิกออฟการระดมทุน เพื่อการรักษาโรคมะเร็งด้วยการใช้เซลล์แทนเคมีบำบัด ให้มหาวิทยาลัยมหิดลสามารถทำโรงงานยาแบบ Cell and Gene Therapy อันจะเป็น Game Changer ของการรักษามะเร็ง ให้คนไทยสามารถเข้าถึงการรักษาโรค ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากโรคภัยอันดับ 1 ของไทย ด้วยนวัตกรรมอันทันสมัยในราคาที่ต่ำลง

ภายในงานมีกูรูด้านนวัตกรรมและกระบวนการคิด (Design Thinking) ชั้นนำของโลก Prof. Steven Eppinger, Massachusetts Institute of Technology, Sloan School of Management มาเปิดมุมมองและ สร้างแรงบันดาลใจในด้านทักษะกระบวนการคิดและนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ Systematic Innovation through Human-Centered Design ซึ่งนอกจากการบรรยาย ยังเปิดโอกาสช่วงถามตอบ เพื่อให้ตอบโจทย์ตรงใจผู้สนใจ ให้ได้มากที่สุด โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิตา รักธรรม รองอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการเสวนา

นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาสุดเข้มข้นจาก คุณผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ที่จะมาชี้มุมมองโอกาสเพื่อเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจไทยด้วยนวัตกรรมที่ยั่งยืน ในหัวข้อ ‘Empowering Thailand’s Economy Through Innovation’

ตบท้ายด้วยเสวนาสำคัญที่เป็นการอัปเดตนวัตกรรมการแพทย์ล่าสุด ในหัวข้อ ‘Revolutionizing Thai Healthcare Through Innovation: นวัตกรรมพลิกอนาคตวงการแพทย์ไทย’ ในการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการทดสอบการวิจัยผลิตภัณฑ์ยาในการรักษาโรคมะเร็งด้วยการใช้เซลล์บำบัดแทนเคมีบำบัด และการสร้างโอกาสในการรักษามะเร็งและโรคร้ายแรงอื่นๆ ในอนาคต โดยผู้เชี่ยวชาญดังนี้

รศ. ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล
ศ. นพ.สุรเดช หงส์อิง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
รศ. ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ดำเนินการเสวนาโดย คุณณัฏฐา โกมลวาทิน ผู้อำนวยการฝ่ายข่าว บริษัท เดอะสแตนดาร์ด จำกัด

“มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งเน้นการต่อยอดการศึกษาและวิจัยไปสู่ผลสำเร็จใน Real world impact ในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health science) และการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแบบองค์รวม (Holistic wellbeing) ในระดับ โดยบทบาทสำคัญของมหาวิทยาลัยในอนาคตจะต้องมุ่งที่การสร้างผลกระทบเชิงบวกในโลกความจริง บนแนวทางการนำความรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับสังคมทั้งในระดับประเทศและระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันเรื่องงานวิจัยยาจำนวนมาก เพื่อยกระดับการรักษาและดูแลสุขภาพ แต่ยังมีข้อจำกัดในการนำเข้าสู่ช่วง Clinical Trial ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะสามารถคิดค้นผลิตยา เป็นของไทยเอง เพราะการวิจัยทางคลินิก ต้องอาศัยความพร้อม และงบประมาณจำนวนมาก ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลมีแผนงาน ทำโรงงานยาที่มีชีวิต หรือ MU-Bio Plant โดยสร้างยาจากเซลล์ที่มีชีวิต (Living Drug) เป็นกลุ่มยา ATMP โดยหวังว่าจะเป็นโรงงานแรกของไทยที่ผลิตยาที่มีชีวิต เพื่อจะนำมารักษาโรคมะเร็งที่มีนวัตกรรมอันทันสมัยให้กับคนไทย” รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าว

โรคมะเร็งถือเป็นโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของไทย นอกจากเสียชีวิตจากโรคมะเร็งโดยตรง ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยเสียชีวิตจากการติดเชื้อเพราะมีภูมิคุ้มกันต่ำเนื่องจากได้รับยาเคมีบำบัด สาเหตุหลักของการเสียชีวิตอีกประการหนึ่ง คือ การดื้อยาหรือการไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด การใช้ยาจากเซลล์ที่มีชีวิตเพื่อการบำบัดรักษาโดยการใช้เซลล์และยีนจึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการรักษา โรคมะเร็ง

ศาสตราจารย์ นพ.สุรเดช หงส์อิง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเสริมว่า “การวิจัยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยาที่ใช้รักษามะเร็งด้วยเซลล์และยีน (CAR T-Cell) เป็นหนึ่งในผลงานวิจัยที่ทีมแพทย์และอาจารย์นักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลได้เริ่มวิจัยมาตั้งแต่ปี 2567 จนสำเร็จ และสามารถนำไปใช้ได้จริงในผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเริ่มโครงการนำร่องในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งโรคเลือดมัยอิโลมา และยังนำไปใช้ในการรักษาโรค SLE จึงเพิ่มโอกาสให้คนไทยเข้าถึงการรักษาอันล้ำหน้านี้ เพราะต้นทุนต่ำลงมาก นับเป็นความภาคภูมิใจ เพราะเป็นผลงานของคนไทย 100% และได้รับการจดสิทธิบัตรครอบคลุมทั้งในและต่างประเทศ”

การที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้ก่อตั้ง ‘กองทุนมูลนิธิมหิดลเพื่อความยั่งยืน’ ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนและต่อยอดงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยและสังคมโลก โดยการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความท้าทายทางสุขภาพในปัจจุบันและอนาคต มีพันธกิจในการสนับสนุนนักวิจัยและบุคลากรทางการแพทย์ในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆเพื่อป้องกัน รักษาโรค ส่งเสริมสุขภาพ ขยายการเข้าถึงการรักษาและยกระดับชีวิตคนไทย ครอบคลุมการพัฒนายา โครงสร้างพื้นฐานทางการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา “นี่คือก้าวแรกของการสร้างอนาคตที่จะพลิกโฉมงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ เพื่ออนาคตคนไทยทุกคนได้เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและเท่าเทียม”

ก้าวที่ไกลกว่าเดิม…จาก “ห้องทดลอง” สู่อนาคต “โรงงานยาที่มีชีวิตแห่งแรกในไทย” เพราะเราเชื่อว่า “โรงงานยาที่มีชีวิต”และ “ยาที่มีชีวิต” จะเป็นนวัตกรรมแห่งอนาคตของการรักษามะเร็งและเป็น Game Changer ที่จะพลิกโฉมวงการแพทย์ไทย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมนวัตกรรมทางการแพทย์ให้รุดหน้า และมีส่วนในการช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็ง และโรคร้ายแรงสามารถเข้าถึงนวัตกรรมการรักษาที่ทันสมัยได้ดียิ่งขึ้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล ในพระราชูปถัมภ์ฯ โทร. 082-526-5501 หรือ Facebook: มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล และ Line: @mufoundation

งาน HUMAN INTERACTION FOR SYSTEMATIC INNOVATION
จัดขึ้นในวันที่ 21 มกราคม 2568 ณ หอประชุมมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

Share: