เทคนิคสร้างสุขภาพดี รับปีใหม่ บูสต์เอเนอร์จี้ไม่มีอ่อม ด้วยพลังสนับสนุนจากสังคม

144
0
Share:

ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้ากลายเป็นปัญหาหลักของสุขภาพจิตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น ในสิงคโปร์พบว่าจำนวนคนหนุ่มสาวมากกว่า 1 ใน 3 ต้องเผชิญกับปัญหาภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียดที่รุนแรง

 

 

อย่างไรก็ตาม เรื่องสุขภาพจิตยังคงเป็นหัวข้อที่อ่อนไหวและมักถูกตีตราในหลายวัฒนธรรมของเอเชีย โดยมีปัจจัย เช่น ค่านิยมทางสังคมที่ฝังลึก การเติบโตของความเป็นเมืองที่รวดเร็ว และการลดลงของแรงสนับสนุนในชุมชน ที่ล้วนทำให้ปัญหานี้รุนแรงยิ่งขึ้น เมื่อวิถีชีวิตในเมืองขยายตัว ความผูกพันในชุมชนดั้งเดิมก็อ่อนแอลง ส่งผลให้ผู้คนเกิดความโดดเดี่ยวมากขึ้น นอกจากนี้ คนรุ่นใหม่จำนวนมากเลือกที่จะอยู่อาศัยตามลำพัง ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดช่องว่างความสัมพันธ์กับครอบครัว ประกอบกับความไม่สะดวกใจในการพูดคุยเรื่องสุขภาพจิต ก็ยิ่งทำให้การขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาเป็นเรื่องยากขึ้น

ดร.ลุยจิ แกรตตัน (Dr. Luigi Gratton, M.D., MPH) รองประธานฝ่ายสุขภาพและสุขภาวะ เฮอร์บาไลฟ์ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงขอมอบคำแนะนำและเทคนิคดีๆ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพกายและใจที่แข็งแรงไปด้วยกันสำหรับทุกคน ดังนี้

เติมพลังกายและใจด้วยเครือข่ายสังคม
หนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการต่อสู้กับความเหงาและเสริมสร้างสุขภาพจิต คือการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม เช่น คลับวิ่ง คลับปั่นจักรยาน คลาสโยคะ หรือพิลาทิส กิจกรรมเหล่านี้ไม่ได้มีแค่ประโยชน์ทางกายภาพ แต่ยังช่วยลดความเครียดและสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน

จากผลสำรวจ Asia Pacific Power of Community Survey โดยเฮอร์บาไลฟ์ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 51% มองว่า การมีผู้สนับสนุนมีความสำคัญต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี เพราะช่วยให้พบเพื่อนใหม่ ขยายเครือข่ายทางสังคม รักษาความรับผิดชอบต่อเป้าหมาย และมีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกันในชีวิตจริงเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่เรียกว่า “พฤติกรรมสอดประสาน” (Behavioral Synchrony) หมายถึงการที่คนทำกิจกรรมบางอย่างร่วมกันเป็นจังหวะเดียวกัน เช่น การออกกำลังกายแบบกลุ่ม ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความผูกพันในกลุ่มมากยิ่งขึ้น เพราะการออกกำลังกายพร้อมกันจะกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน ช่วยสร้างความรู้สึกดี และกระตุ้นให้คนในกลุ่มมีแรงผลักดันที่จะก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเอง

กินอาหารด้วยกันช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์
อีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพกายและใจที่ดี คือการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ควบคู่ไปกับการทำกิจกรรมร่วมกับคนในชุมชน ในวัฒนธรรมเอเชียหลายแห่ง การรับประทานอาหารร่วมกันถือเป็นกิจกรรมสำหรับชีวิตในสังคม และเป็นกิจวัตรประจำวันที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัวและรักษาประเพณีวัฒนธรรมบางอย่างไว้

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แนวคิดนี้ยังได้ขยายไปสู่กิจกรรมด้านสุขภาพอื่นๆ เช่น การจัดเวิร์กชอปเกี่ยวกับโภชนาการ หรือการสร้างสวนชุมชนที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างพื้นที่ให้สมาชิกในชุมชนได้แชร์มื้ออาหารด้วยกัน แต่ยังเปิดโอกาสให้ทุกคนได้รับคำแนะนำด้านโภชนาการเฉพาะบุคคล และการสนับสนุนซึ่งกันและกันไปสู่เส้นทางสู่สุขภาพที่ดี

การรับประทานอาหารร่วมกันยังนำไปสู่การยอมรับในเชิงบวกจากสังคม ช่วยกระตุ้นให้คนเลือกอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น และตอกย้ำแนวคิดที่ว่า โภชนาการไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของสิ่งที่เรากินเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับวิธีการและบุคคลที่เรารับประทานอาหารร่วมด้วย

แนวทางสำหรับสร้างชุมชนที่มีสุขภาพดี
ในยุคที่ชีวิตดำเนินไปอย่างรวดเร็ว การหาเวลาสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมายอาจเป็นเรื่องท้าทาย แต่อย่างไรก็ตาม โลกดิจิทัลในปัจจุบันยังทำให้เรามีโอกาสได้สร้างเครือข่ายสังคมเสมือนจริงที่มีประสิทธิภาพพอๆ กับการเข้าสังคมแบบตัวต่อตัว เช่น การเข้าร่วมกลุ่มสุขภาพออนไลน์ การรับคำแนะนำเฉพาะบุคคลผ่านอีเมล หรือแชร์โมเมนต์สุขภาพดีๆ ลงบนโซเชียลมีเดีย

การสร้างชุมชนที่มีสุขภาพดี ต้องใส่ใจว่าการพูดคุยเรื่องสุขภาพจิตจะไม่ถูกตีตรา ดังนั้น เราจำเป็นต้องนำแนวทางการพัฒนาชุมชนที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพองค์รวมมาใช้ เพราะกิจกรรมกลุ่มไม่เพียงแต่ช่วยลดความเครียดและความโดดเดี่ยวเท่านั้น แต่ยังต้องส่งเสริมความสามัคคีและสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับทุกคน

ท้ายที่สุด มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่พึ่งพาสังคมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและพัฒนาตนเอง การยอมรับว่าเราทุกคนต่างมีความท้าทายของตัวเอง และการร่วมมือกันเป็นชุมชนที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน จะช่วยให้เราสามารถก้าวข้ามอุปสรรคและเติบโตไปด้วยกันได้อย่างมีความสุข

Share: