5 เรื่องบัตรเดบิตต้องรู้ ฉบับมนุษย์เงินเดือน เพื่อจัดการเงินให้เป็น

542
0
Share:

มนุษย์เงินเดือน หากจัดการเงินไม่เป็น ติดสไตล์สายเปย์ ก็มักจะหลงเข้าไปในวงจรการเงินแบบเดือนชนเดือน วันนี้ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ ชวนคุณมาเปลี่ยน…จากมนุษย์เงินเดือนสายเปย์ไม่เลือก เป็นมนุษย์เงินเดือนสายเปย์แบบสมาร์ทให้คุณรู้จัก วางแผนใช้จ่าย เก็บออม และพร้อมลงมือทำ เพื่อการเงินที่ดีทั้งวันนี้และในอนาคต เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการเปิดบัญชีเงินฝาก พร้อมตัวช่วยอย่าง “บัตรเดบิต”

 

 

บัตรเดบิต ตัวช่วยให้คุณไม่ต้องพกเงินสด ซึ่งแต่ละการใช้จ่าย ยอดจะถูกตัดจากเงินในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ที่ผูกกับบัตร ช่วยให้บริหารรายจ่ายได้ง่ายขึ้น ไม่เกินตัว เกินกำลัง ตามเงินที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่ก่อนจะทำบัตรเดบิตสักใบ มาดูกันกับ “5 เรื่องบัตรเดบิตต้องรู้”

1. ศึกษาเงื่อนไขให้เข้าใจ
บัตรเดบิตของแต่ละธนาคารย่อมมีเงื่อนไขการใช้แตกต่างกัน ก่อนสมัครจึงควรทำความเข้าใจกับเงื่อนไขของแต่ละบัตรให้ดีเพื่อเลือกทำบัตรที่ตรงกับความต้องการ อาทิ มีค่าธรรมเนียมอย่างไร มีเงื่อนไขฝากขั้นต่ำครั้งแรกหรือไม่ ซึ่งบัตรเดบิต ttb all free เป็นบัญชีเงินฝากใหม่ที่ให้ฟรีสารพัดรายการไม่ว่าจะเป็น
• ฟรีค่าธรรมเนียมเปิดบัญชี
• ฟรีค่าธรรมเนียมบัตรเดบิต รูปแบบบัตรดิจิทัล ใช้จ่ายออนไลน์ได้สะดวก
• ฟรีค่าธรรมเนียมกดเงินกับตู้เอทีเอ็ม
• ฟรีค่าธรรมเนียมโอนเงินทั่วประเทศ
• ฟรีค่าธรรมเนียม เติมเงิน และจ่ายบิล ทั้งผ่านตู้เอทีเอ็ม และ บนแอป ttb touch

2. เลือกประเภทบัญชีที่ตอบโจทย์
บัตรเดบิตเป็นการทำบัตรกดเงินที่ผูกเข้ากับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เพราะฉะนั้นเมื่ออยากเปิดบัญชีเงินฝากให้ตรงกับความต้องการจึงควรเลือกดูทั้งเรื่อง ค่าธรรมเนียม เงินฝากขั้นต่ำ อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เงื่อนไขในการถอนเงิน เพื่อเปรียบเทียบประเภทบัญชีเงินฝากที่ตอบโจทย์มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อต้องการเปิดบัญชีไว้ใช้จ่ายเป็นหลัก เก็บออมเป็นรอง ประเภทบัญชีออมทรัพย์ที่ให้ทำธุรกรรมต่างๆ ได้ฟรีอาจเป็นคำตอบที่ดีของใครหลายคน เช่น บัตรเดบิต ttb all free ที่สามารถใช้จ่ายได้อย่างอิสระ ไม่มีบวกเพิ่มค่าธรรมเนียมให้เป็นภาระการใช้จ่าย ใช้จ่ายบิล ซื้อของออนไลน์ หรือใช้จ่ายต่างประเทศก็ทำได้ ยิ่งถ้าเป็นคนชอบช้อปออนไลน์ ใช้จ่ายออนไลน์ หรือทำอะไรบนออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ บัตรเดบิต ttb all free ดิจิทัล จะช่วยตอบโจทย์ได้มาก ที่สำคัญไม่มีค่าธรรมเนียมออกบัตรและรายปี

3. ติดตามยอดเงินบนบัตรเดบิตผ่านแอปธนาคารฯ หรือ โมบายแบงก์กิ้ง ได้ทุกที่ ทุกเวลา สะดวก และปลอดภัยขึ้นได้
ใส่ใจกับการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ฝึกทักษะทางการเงิน และการรับผิดชอบตัวเอง พร้อมตรวจสอบ และติดตามยอดเงินบัตรเดบิตผ่านแอปธนาคารฯ จะได้รู้ตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ ว่าเมื่อไหร่ใช้จ่ายเยอะเกินไป

4. รู้วิธีเก็บบัตรเดบิตให้ปลอดภัย
เมื่อมีบัตรเดบิตเป็นของตัวเอง สิ่งสำคัญ คือ วิธีเก็บบัตรให้ปลอดภัย โดยเฉพาะในยุคที่มิจฉาชีพเกลื่อนเมืองแถมเข้าถึงตัวได้ทุกเมื่อ ดังนั้น จึงต้องระมัดระวังเรื่องของข้อมูลบัตรเดบิตเป็นพิเศษ ไม่ถ่ายรูปบัตรลงโซเชียลโดยเด็ดขาด รวมทั้งไม่บอกและไม่กรอกข้อมูลบัตรสุ่มสี่สุ่มห้า หากมีเหตุทำบัตรหล่นหาย หาบัตรไม่เจอ มีการแจ้งเตือนกดเงินที่ไม่ได้เป็นคนกดเอง

สิ่งที่ควรทำเป็นอย่างแรก คือ การอายัดบัตร โดยลูกค้าทีทีบีสามารถอายัดบัตรผ่านแอป ttb touch ด้วยขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
• เข้าหน้าหลักแอป ttb touch จากนั้นเลื่อนหาปุ่ม บัญชี ที่แถบเมนูด้านล่าง
• เลือกเมนูเงินฝากที่ต้องการอายัดบัตร
• เลือกแถบข้อมูลบัญชี
• เลื่อนลงมาที่หัวข้อ การจัดการบัญชี เลือกเมนู บัตรเดบิต
• เลือกประเภทบัตรเดบิตที่ต้องการอายัด
• กดอายัดบัตร
• อ่านรายละเอียด หากเข้าใจแล้วกดอายัดบัตร
• ใส่ PIN เพื่อยืนยันการทำรายการ
• ทำรายการอายัดบัตรเดบิตสำเร็จ

5. เลือกบัตรเดบิตที่ให้สิทธิประโยชน์คุ้มกว่า
ข้อเปรียบเทียบสุดท้ายก่อนจะเลือกทำบัตรเดบิตสักใบคือเรื่องของความคุ้มค่า หลายคนจึงมองหาบัตรที่ให้สิทธิประโยชน์ที่คุ้มค่ากว่าการเก็บเงินไว้เฉยๆ เช่น การเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่ฝากเงินไว้ครบตามเงื่อนไขก็จะได้รับประกันอุบัติเหตุฟรี และมีบัตรเดบิตที่คุ้มค่าในทุกการใช้จ่าย เช่น บัตรเดบิต ttb all free ฝากเงินไว้ได้ฟรีประกันอุบัติเหตุ เพียงเก็บเงินไว้ในบัญชีอย่างน้อย 5,000 บาท ก็ได้รับสิทธิ์เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาก่อน

ง่ายๆ เพียงแสดงบัตร all free E-Care Card ในแอปพลิเคชัน ttb touch สถานพยาบาลชั้นนำทั่วประเทศ คุ้มครองสูงสุด 3,000 บาท/อุบัติเหตุ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง

จะเห็นได้ว่าบัตรเดบิตก็สามารถเป็นตัวช่วยในการจัดการเรื่องเงินให้ดีขึ้นได้ และเป็นได้มากกว่าบัตรเดบิต ด้วยสิทธิประโยชน์อื่นๆ หรือการดูแลคุ้มครอง…รู้อย่างนี้แล้ว มาวางแผนการเงินให้ดีขึ้นได้ด้วย บัตรเดบิตที่ตอบโจทย์ชีวิตมนุษย์เงินเดือนด้วยกันเถอะ!

ดูเคล็ดลับการเงินอื่นๆ จาก “fintips by ttb” เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ คลิก! https://www.ttbbank.com/th/fin-tips-001

Share: