เปิด 10 เทรนด์ฮิตชีวิตดิจิทัลปี 2024 ปีแห่งความหลากหลายด้านป๊อปคัลเจอร์ โดย LINE ประเทศไทย

32
0
Share:

 

ปี 2024 มีกระแสไวรัลและเทรนด์ฮิตเกิดขึ้นมากมายและหลากหลายกลายเป็นวัฒนธรรมป๊อปที่หลอมรวมอยู่ในไลฟ์สไตล์ของคนไทยในรอบปีที่ผ่านมา ทั้งวลีฮิต คอนเทนต์ บันเทิง ภาพยนตร์ เพลง กีฬา อาหารการกิน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สัตว์โลกน่ารัก ที่ต่างเชื่อมโยงส่งอิทธิพลบนโลกดิจิทัลไปยังชีวิตจริงอย่างแยกกันไม่ออก LINE ประเทศไทยจึงพาสรุป “10 เทรนด์ฮิตชีวิตดิทัล 2024” ที่รอบนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “หมีเนย – หมูเด้ง – ช็อกโกแลตดูไบ – ไข่พะโล้” ยึดแทบทุกพื้นที่ ขณะที่ “กีฬา – สมรสเท่าเทียม – ฉ้อโกง” กลายเป็นประเด็นฮอต กระแสร้อนทำคนไทยนั่งไม่ติดผ่านบริการต่างๆ บนแอป LINE ในปีที่ผ่านมา

1. “น้องเนย-หมูเด้ง” คว้าหัวใจครองโลกดิจิทัล
– จับมือครองโลกออนไลน์กันแบบไม่ต้องสงสัย สำหรับ “น้องเนย” จาก Butterbear และ “หมูเด้ง” ที่ติดอันดับท็อปในหลายบริการบนแอป LINE โดย “ด้อมน้องเนย” ขึ้นแท่นกลุ่มแฟนคลับที่มีสมาชิกมากที่สุดบน LINE OPENCHAT กว่า 40,000 คน ส่วน “ด้อมหมูเด้ง” สร้างสถิติใหม่กวาดแฟนๆ เข้ากลุ่มเร็วที่สุด โดยมีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นจาก 5,000 เป็น 10,000 คน ในเวลาเพียง 10 นาที

นอกจากนี้ เพลง “น่ารักมั๊ยไม่รู้” ของน้องเนยยังติดท็อปเพลงฮิตที่ผู้ใช้นำมาสร้างคอนเทนต์มากที่สุดบนแพลตฟอร์ม LINE VOOM พร้อมด้วยเป็นหนึ่งในเพลงฮิตที่คว้ารางวัล Black Melody ศิลปินที่มียอดดาวน์โหลดบน LINE MELODY สูงสุดภายใน 2 วัน

2. คนดังแห่ออกสติกเกอร์ เข้าถึงแฟนในทุกโมเมนต์
– ฟาก LINE STICKERS ก็พบว่าเป็นปีที่คอลเลกชันสติกเกอร์ “คนดัง” เพิ่มขึ้นสูง จากการเป็นเครื่องมือสื่อกลางที่เข้าถึงกลุ่มแฟนคลับได้ทุกโมเมนต์ ทุกการพูดคุยบนโลกออนไลน์ เพราะมีทั้ง น้องเนย, หมูเด้ง, พี่จอง คัลแลน น้องแดน คุณจูดี้, ครอบครัวตัวฟอร์, หลิง-ออม, เจมิไนน์ – โฟร์ท และนักแสดงที่มีฐานแฟนด้อมอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ ก็เป็นปีที่สติกเกอร์จากคำฮิตวลีเด็ดบนโลกโซเชียลก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง อย่าง birthday but with me (เกิดแต่กับกู) ที่ให้อารมณ์สนุกและกวน ไม่พลาดสักกระแส

3. ยกเครื่อง “อิโมจิ” ครั้งใหญ่ในรอบ 7 ปี
– หลายคนอาจเตะตาในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเวลาแชท เพราะมีการยกเครื่องปรับโฉม “อิโมจิ” ครั้งใหญ่ ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี ที่หยิบมาอิโมจิตัวเดิมที่คุ้นเคย อีกหนึ่งไอเท็มสื่อสารอมตะบนโลกดิจิทัลกลับมาออกแบบใหม่และจัดเรียงตัวให้เหมาะกับการใช้งานจริง สอดคล้องกับพฤติกรรมที่คนใช้อิโมจิเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับอิโมจิบน Reaction ข้อความบน LINE ที่มีผู้ใช้งานมากขึ้นเช่นกัน

4. ของกินบนโลกโซเชียลมาแรง รอนานแค่ไหนก็ยอม
– เป็นปีที่เรียกได้ว่า “ของกิน” ที่เป็นกระแสบนโลกโซเชียลมีอิทธิพลอย่างมากกับวัฒนธรรมป๊อปในเมืองไทย ทำให้ตลาดอาหารคึกคักแบบไม่ต้องสงสัย อย่าง LINE SHOPPING พบว่า “ช็อกโกแลตดูไบ” เป็นสินค้าขายดีสุดๆ โดยช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคมขายได้รวมกว่า 30,000 ชิ้น หรือร้านเค้กทุเรียน เค้กลอดช่องอย่าง Nie and Ivan ก็ครองสถิติการพรีออเดอร์รอเค้กนานที่สุดถึง 5 เดือน

ฟาก LINE MAN ก็พบว่า “ไข่พะโล้” จากกระแสของพี่เอ ศุภชัย มียอดออเดอร์จากร้านต่าง ๆ รวมกันแล้วโตขึ้นกว่า 2 เท่าใน 1 เดือน เมื่อเทียบกับเวลาปกติ โดยเฉพาะไข่พะโล้ก็ขายจากร้านต่างๆ รวมกันทั่วประเทศมากกว่า 260,000 ฟอง ขณะที่ “ข้าวขาหมู” จากกระแสหมูเด้ง ก็ทำให้ยอดค้นหาเมนูข้าวขาหมูบน LINE MAN เพิ่มขึ้น 50% ภายใน 1 สัปดาห์เช่นกัน ซึ่งทุกเมนูล้วนเป็นมีจุดเริ่มต้นจากกระแสบนโลกโซเชียลทั้งสิ้น

5. “กีฬา – สมรสเท่าเทียม – ฉ้อโกง” ประเด็นคอนเทนต์คนไทยมีส่วนร่วมคึกคัก
– มหกรรมกีฬาโอลิมปิกปีที่ผ่านมาสร้างบรรยากาศเชียร์ไทยปกคลุมทั่วประเทศ ส่งผลให้คอนเทนต์ของ LINE TODAY ในหมวดกีฬามีผู้รับชมเพิ่มขึ้น 3 เท่าจากช่วงเวลาปกติ เช่น ข่าวเทนนิส-พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ คว้าเหรียญทองแรกให้กับประเทศไทยในการแข่งขันโอลิมปิก 2024 สอดคล้องกับที่แฟนๆ กีฬาเปิดห้องโอเพนแชทเพื่อพูดคุยและเชียร์กีฬาที่ตัวเองชอบเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงโอลิมปิกเช่นเดียวกัน ขณะที่คนไทยก็ตื่นตัวเสพคอนเทนต์ข่าวสารประเด็น “ฉ้อโกง – มิจฉาชีพ” รวมกว่า 36 ล้านเพจวิว โดยเนื้อหาที่คนเข้าชมมากที่สุดได้แก่ กรณี The Icon Group อันดับสองได้แก่ ทองแม่ตั๊ก และอันดับสาม อย่างแกงค์คอลเซ็นเตอร์ระบาด

ด้านประเด็น “สมรสเท่าเทียม” ที่สร้างบรรยากาศของการตื่นเต้นยินดี ก็ครองอันดับหนึ่งการรับชมไลฟ์บน LINE TODAY มากที่สุดถึง 1 ล้านคน จากงาน Pride Parade มากกว่าคอนเทนต์ไลฟ์อื่นถึง 3 เท่า

6. วงการเพลงสุดคึกคักเพราะความหลากหลาย
– ปีนี้ LINE MELODY มีการมอบรางวัล Black Melody รางวัลที่มอบให้แก่เพลงที่มียอดดาวน์โหลดเร็วและมากที่สุดบนบริการ LINE MELODY มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ถึง 18 รางวัล ซึ่งถือได้ว่าเป็นปีที่เพลงที่ได้รับรางวัลมีความหลากหลายสุดๆ สะท้อนให้เห็นถึงเทรนด์ความนิยมของผู้ใช้งานที่หลากหลายและขยายกว้างมากขึ้น ตั้งแต่ศิลปินสังกัด ศิลปินอิสระ เพลงประกอบวิดีโอของคัลแลน-พี่จอง สองหนุ่มเกาหลีเที่ยวไทยอย่าง Toxic – HateBerry เพลงที่แต่งจากกระแสโซเชียลอย่าง หมูเด้ง Moo Deng (Reggaeton) – Karat K รวมถึงเป็นครั้งแรกที่ผู้ได้รับรางวัล BLACK MELODY เป็นหมีน้อยน่ารักอย่าง “น้องเนย” จากเพลง น่ารักมั้ยไม่รู้ – Butterbear

7. “หลวงพ่อทันใจ” แซงพระแม่ลักษมี สิ่งศักดิ์สิทธิ์คนไทย “ขอพรออนไลน์” มากที่สุด
– หลวงพ่อทันใจ วัดพระธาตุดอยคำ เชียงใหม่ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนไทยใช้บริการขอพรออนไลน์ผ่าน LINE ดูดวงมากที่สุดในปีทีผ่านมา ตามมาด้วยวัดดั๊กดูเศรษฐ์ อินเดีย และ พระแม่ลักษมี เกษรวิลเลจ ที่อยู่ในอันดับสาม นอกจากนี้คนไทยก็ไม่ลืมที่จะ “บริจาค” เพื่อสังคม โดย LINE ดูดวง ร่วมมือกับ “เทใจ” เป็นสื่อกลางในการส่งน้ำใจของคนไทยไปสู่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในหลายจุดทั่วประเทศ ที่เฉพาะในเดือนกันยายนเพียงเดือนเดียวก็ได้รับเงินบริจาคจากพี่น้องชาวไทยกว่า 8 แสนบาท

8. เกมสนุก เว็บตูนไทยปังเกินต้าน
– LINE ไอเดิล เรนเจอร์ เกมใหม่ล่าสุดจาก LINE GAME เผยสถิติผู้เล่นในไทยใช้เวลาในโหมด Idle รวมกว่า 242,023 นาที (4,033 ชั่วโมง) ภายในวันแรกที่เปิดให้บริการ หรือเทียบเท่าการออกกำลังกายวันละ 1 ชั่วโมงนานถึง 11 ปี ขณะที่ฟาก LINE WEBTOON “ฉันนี่แหละท่านขุนที่สวยที่สุดในสยาม” ก็ต่อยอดความดัง จัดกิจกรรม Pop-up Store กลางสยาม เอาใจแฟนคลับแห่ร่วมช้อปรวมกว่าหมื่นคน

9. SME ทั่วไทยกว่า 2 ล้านคน ตื่นตัวหาความรู้ใหม่
– LINE for Business กระจายความรู้ให้ผู้ประกอบการ SME กว่า 2 ล้านคนทั่วประเทศ ผ่านงานสัมมนามากมาย อาทิ BOOTCAMP DAY และ UPSKILL SME ที่จับมือกับ สสว. รวมถึงงานธุรกิจท่องเที่ยวและร้านอาหารอย่าง “จุดประกายธุรกิจไมซ์ ติดอาวุธธุรกิจอย่างยั่งยืน” ร่วมกับ TCEB และ THAI MICE Connect รวมทั้งคอร์สออนไลน์อย่าง BOOTCAMP Classroom และรายการโค้ชชวนคุย เป็นต้น

10. หลานม่า – ธี่หยด 2 ครองหนังซื้อตั๋วผ่าน LINE Pay
– เป็นปีที่หนังไทยคึกคักมากกว่าช่วงหลายปีที่ผ่านมา ภาพยนตร์ไทยในปี 2567 สุดฮิตอย่าง หลานม่า และ ธี่หยด 2 สร้างปรากฏการณ์เป็นหนังที่คนซื้อตั๋วและจ่ายด้วย LINE Pay ที่แท็บ SF Cinema บนแท็บ LINE Wallet มากที่สุดของปี

ขณะที่อีกบริการฟินเทคอย่าง LINE BK ก็พบว่าคนไทยที่ประกอบอาชีพอิสระรวมถึงกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ตื่นตัวมองหาประกันสุขภาพมากยิ่งขึ้นอย่าง “ประกันผู้ป่วยนอกเบาเบา” ขณะที่แผนโรคมะเร็งเป็นแผนที่มีความต้องการซื้อมากที่สุดในกลุ่มแผนโรคร้ายแรง สะท้อนให้เห็นการตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงของโรคมะเร็ง โดยลูกค้าเป็นเพศหญิงถึง 53%

Share: