เข้าใจความปลอดภัยของคริปโตเคอร์เรนซี: ทำไมการตรวจสอบย้อนกลับจึงสำคัญสำหรับทุกคน
“คริปโตฯ เอาไว้ฟอกเงิน” “เงินดิจิทัลติดตามไม่ได้” เป็นคำพูดที่เราได้ยินกันบ่อยๆ ในสังคมไทย แต่ความจริงแล้วเป็นอย่างไร? ในฐานะผู้ที่ทำงานทั้งด้านการศึกษาและกลยุทธ์ในวงการสินทรัพย์ดิจิทัลโดยตรงในประเทศไทย ผมพบเจอความเชื่อผิดๆ นี้อยู่บ่อยครั้ง ตรงกันข้าม ธุรกรรมคริปโตเคอร์เรนซีไม่เพียงสามารถติดตามได้ แต่ยังมีความโปร่งใสมากกว่าระบบการเงินแบบดั้งเดิมเสียอีก
ทำความเข้าใจง่ายๆ เรื่องการตรวจสอบในบล็อกเชน
ลองเปรียบเทียบง่ายๆ นะครับ ถ้าเราจ่ายเงินสดซื้อของในตลาด เราจะติดตามเงินนั้นได้ยากมาก แต่การใช้คริปโตฯ เหมือนกับการโอนเงินผ่านพร้อมเพย์ที่มีการเก็บประวัติทุกรายการ แต่เพิ่มความพิเศษตรงที่ทุกคนสามารถตรวจสอบได้ เหมือนกับมีสำเนาสมุดบัญชีที่โปร่งใสและแก้ไขไม่ได้ ที่ Binance TH ระบบนี้ช่วยป้องกันการทุจริตได้ดีกว่าระบบเดิมๆ เสียอีก เทคโนโลยีบล็อกเชนจึงเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการสร้างระบบนิเวศทางการเงินที่ปลอดภัยและโปร่งใสมากขึ้น
ความปลอดภัยในบริบทประเทศไทยที่เห็นชัดเจน
ความโปร่งใสของบล็อกเชนตอบโจทย์อีกหนึ่งความกังวลที่พบบ่อย นั่นคือเรื่องความปลอดภัย ทุกธุรกรรมบนเครือข่ายคริปโตเคอร์เรนซี เหรียญยอดนิยมอย่าง Bitcoin และ Ethereum ถูกบันทึกถาวร สามารถตรวจสอบได้โดยสาธารณะ และไม่สามารถแก้ไขย้อนหลังได้ กลไกนี้สร้างความสามารถในการติดตามบน Chain ที่ไม่มีวันถูกทำลาย ซึ่งเหนือชั้นกว่าระบบการเงินทั่วไป
รายงานอาชญากรรมคริปโตล่าสุดจาก Chainalysis (2024) เผยว่าธุรกรรมคริปโตเคอร์เรนซีที่ผิดกฎหมายมีเพียง 0.24% ของปริมาณธุรกรรมคริปโตทั้งหมด การวิเคราะห์บล็อกเชนสมัยใหม่สามารถติดตามรูปแบบการทำธุรกรรมได้อย่างแม่นยำ ทำให้คริปโตเคอร์เรนซีกลายเป็นตัวเลือกที่ไม่เข้าท่าสำหรับผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงการตรวจจับ
ประเทศไทยกับการพัฒนาไปข้างหน้า
ประเทศไทยถือว่าเป็นผู้นำในภูมิภาคเรื่องการกำกับดูแลคริปโตฯ ก.ล.ต. ของเราออกกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน ทำให้ผู้ลงทุนไทยได้รับการคุ้มครองที่ดี เทียบเท่าการลงทุนในตลาดหุ้น จากรายงานการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เผยว่าปี 2566 ที่ผ่านมา ตลาดคริปโตฯ ไทยมีมูลค่าการซื้อขายกว่า 100,000 ล้านบาท โดยทุกธุรกรรมต้องผ่านการตรวจสอบตัวตน (KYC) เหมือนกับการเปิดบัญชีธนาคาร ทำให้ปลอดภัยกว่าการซื้อขายในตลาดต่างประเทศที่ไม่มีใบอนุญาต ทำให้สามารถติดตามธุรกรรมได้ 100%
แนวทางและข้อกำหนดในการขอใบอนุญาตที่ชัดเจนของ ก.ล.ต. ไทย ส่งผลให้ผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนบนกระดานเทรดในประเทศต้องรักษามาตรฐานความปลอดภัยระดับสูง ทั้งนี้ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) รายงานว่าปีที่ผ่านมา สามารถติดตามธุรกรรมต้องสงสัยได้ถึง 95% นี่เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่าระบบคริปโตฯ ไม่ได้เอื้อต่อการทำผิดกฎหมายอย่างที่หลายคนเข้าใจ
มองไปข้างหน้า
เทคโนโลยีบล็อกเชนกำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว รายงานสินทรัพย์ดิจิทัลปี 2567 ของ World Economic Forum คาดว่าภายในปี 2569 ประสิทธิภาพการตรวจจับธุรกรรมผิดปกติจะพัฒนาขึ้นอีก 300% เมื่อเครื่องมือเหล่านี้พัฒนาขึ้น เราเห็นการเพิ่มขีดความสามารถในการจดจำรูปแบบ การติดตามแบบเรียลไทม์ และโมเดลการประเมินความเสี่ยงขั้นสูง
การศึกษาคือกุญแจสำคัญของคนไทย
จากการสำรวจล่าสุดของสมาคมฟินเทคประเทศไทย พบว่า 73% ของนักลงทุนคริปโตชาวไทยระบุว่า ความปลอดภัยและความสามารถในการติดตามตรวจสอบเป็นปัจจัยสำคัญอันดับหนึ่งในการเลือกแพลตฟอร์มการซื้อขาย สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจที่ลึกซึ้งมากขึ้นในผู้ใช้งานในตลาดของเรา ที่ Binance TH Academy เราจึงเน้นการให้ความรู้แบบเข้าใจง่าย ใช้ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนไทย
สรุป
ถึงเวลาแล้วที่เราต้องเปลี่ยนมุมมองเรื่องคริปโตฯ จากความกลัวและความไม่เข้าใจ มาสู่การเรียนรู้และใช้ประโยชน์อย่างถูกต้อง ด้วยกฎระเบียบที่รัดกุมและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ประเทศไทยมีโอกาสที่จะเป็นศูนย์กลางสินทรัพย์ดิจิทัลของภูมิภาค
สำหรับผู้ที่สนใจเรียนรู้เพิ่มเติม Binance TH Academy มีคอร์สออนไลน์ฟรี ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับคนไทย เน้นการประยุกต์ใช้จริงและการลงทุนอย่างปลอดภัย ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นจนถึงระดับมืออาชีพ
โดย ดร.กร พูนศิริวงศ์
ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์และผู้อำนวยการโครงการ Binance TH Academy บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด