สามขั้นตอนสู่ความเป็น Adaptive Leadership ในยุคเทคโนโลยี

652
0
Share:

องค์กรต่างๆ ในปัจจุบันถูกดึงเข้าไปพัวพันกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างเหนียวแน่น และจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อคงความสามารถทางการแข่งขันให้ได้ เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการกำหนดรูปแบบการดำเนินงานและความสามารถทางการแข่งขันของทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคโนโลยี IoT ในภาคการผลิต ไปจนถึงร้านค้าปลีกเล็กๆ หรือธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่มที่พึ่งพาโซลูชันการชำระเงินแบบไร้สัมผัส องค์กรต่างลงทุนด้านเทคโนโลยีและ generative AI มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะไม่ต้องการที่จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง แต่องค์กรส่วนใหญ่เร่งรีบเกินไปจนไม่ได้พิจารณาว่าองค์กรจะได้ประโยชน์อย่างแท้จริงเพียงใด

 

 

การเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ส่งให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกโดดเด่นและนำมาซึ่งโอกาสต่างๆ มากมาย ในขณะเดียวกันก็นำมาซึ่งความเสี่ยงในวงกว้างเช่นกัน ข้อมูลจากรายงาน Anatomy of Adaptive Leaders ที่จัดทำโดย Economist Impact ที่เป็นการสำรวจความเห็นของผู้นำองค์กรพบว่า การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ (77%), การหยุดชะงักด้านซัพพลายเชน (76%), การโจมตีทางไซเบอร์ (69%) และการเพิ่มขึ้นของกฎระเบียบที่กระจัดกระจาย (69%) เป็นส่วนหนึ่งของความท้าทายที่ทุกภาคส่วนในภูมิภาคนี้เผชิญ การขาดแคลนผู้มีความสามารถเป็นปัญหาที่หนักโดยเฉพาะในประเทศต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น (87%) ออสเตรเลีย (84%) และเกาหลีใต้ (81%) รวมถึงภาคส่วนต่างๆ เช่น ธุรกิจขายส่ง แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และธุรกิจบริการต่างๆ ทำให้ผู้นำทางธุรกิจในภูมิภาคนี้ต่างคาดหวังที่จะสำรวจสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจในหลายแง่มุม ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจที่ลึกซึ้งถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น

ความสามารถในการปรับตัวและการเจริญเติบโตของธุรกิจเป็นเรื่องสำคัญต่อผู้นำองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กหรือผู้บริหารบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ เพื่อให้ดำเนินธุรกิจอย่างประสบความสำเร็จและแข่งขันในตลาดที่มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลาได้

การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ที่มากกว่าการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล
การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลไม่ได้เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลหรือระบบอัตโนมัตเท่านั้น แต่เกี่ยวกับการนำวิธีการเหล่านี้ไปใช้เปลี่ยนแปลงกระบวนการทางธุรกิจ วัฒนธรรม และประสบการณ์ลูกค้า ซึ่งหากต้องการบรรลุเป้าหมายนี้ ผู้นำธุรกิจต้องเห็นด้วยและสนับสนุนการพัฒนาองค์กรที่พร้อมใช้ดิจิทัล

ผู้นำต้องมีใจเปิดกว้างและเต็มใจทดลองใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีเกิดใหม่หรือใหม่กว่า เช่น คลาวด์คอมพิวติ้ง, Web3, ควอนตัมคอมพิวติ้ง และ generative AI แม้ว่าจะไม่สามารถเรียนรู้และเชี่ยวชาญในนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีได้ทุกอย่าง แต่ผู้นำที่ประสบความสำเร็จในการประโยชน์จากเทคโนโลยีเกิดใหม่ต่างๆ จะเพิ่มประสิทธิภาพให้แหล่งทรัพยากรของบริษัทและลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ส่วนผู้นำที่ไม่เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีมากนักก็สามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมในองค์กรอย่างต่อเนื่องได้ด้วยคุณสมบัติสำคัญประการหนึ่งคือ ความสามารถในการปรับตัว

สามขั้นตอนสู่การเป็นผู้นำที่สามารถปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง (adaptive leader)

#1 ส่งเสริมวัฒนธรรมที่พร้อมใช้ดิจิทัล
ลักษณะของการเป็นผู้นำที่สามารถปรับตัวและนำพาองค์กรสู่การเปลี่ยนแปลงได้ (adaptive leader) ในยุคที่เทคโนโลยีมาเป็นอันดับแรก ต้องเริ่มจากการปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรที่พร้อมใช้ดิจิทัล ซึ่งเป็นมากกว่าการแนะนำการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยไปใช้กับการทำงานในแต่ละวันเท่านั้น แต่เป็นเรื่องความรู้เชิงประสบการณ์ที่ผู้นำทางเทคโนโลยีและเครื่องมือทางดิจิทัลต่างๆ จะต้องปลูกฝังทั้งความมั่นใจและความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือเหล่านี้ให้กับพนักงานทุกคน การแนะนำกระบวนการและแนวปฏิบัติใหม่ๆ เช่น การบูรณาการทางดิจิทัลนั้น ผู้นำมีบทบาทสำคัญในการทำนำเป็นตัวอย่าง เช่น กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ และระบุได้ว่าองค์กรจะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้อย่างไรบ้าง การส่งเสริมวัฒนธรรมการปรับตัวและการยินดีรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะช่วยให้ผู้นำสามารถเสริมพลังให้ทีมของตนได้ก้าวหน้าอยู่เสมอ และเพิ่มความคล่องตัวให้กับองค์กรในภาพรวม

#2 ประเมินสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในการปรับปรุงองค์กรให้ทันสมัยตามวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ
ขั้นตอนต่อไปคือการประเมินโครงสร้างพื้นฐานไอทีขององค์กร และระบุว่ามีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุงให้ทันสมัย เรื่องนี้เกี่ยวกับการปรับกลยุทธ์โครงสร้างพื้นฐานไอทีและวัตถุประสงค์ทางธุรกิจให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน adaptive leaders ต้องทำงานใกล้ชิดกับแผนกไอทีเพื่อใช้ความเชี่ยวชาญของพวกเขาให้เป็นประโยชน์ในการเลือกใช้แพลตฟอร์มและเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุด และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเหล่านี้จัดการกับความต้องการทางธุรกิจ ซึ่งจะช่วยให้ผู้นำองค์กรสามารถเสริมสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีขององค์กรได้ และทำให้องค์กรประสบความสำเร็จที่ยั่งยืนในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

#3 ทำงานร่วมกันและใช้สไตล์การทำงานแบบเปิด
Adaptive leadership จะใช้สไตล์การทำงานแบบเปิดซึ่งมีลักษณะคล่องตัวและมีการทำงานร่วมกัน การใช้กรอบความคิดที่คล่องตัวว่องไว ช่วยให้ผู้นำสามารถกระตุ้นทีมงานให้ตอบสนองต่อสถานการณ์ตลาดที่แตกต่างกันได้อย่างรวดเร็ว

การทำงานร่วมกันของทีมเป็นสิ่งสำคัญ เช่น แผนกไอทีที่มักถูกมองว่าทำงานแยกส่วนจากแผนกอื่น แต่พนักงานที่มีความสามารถของแผนกนี้เป็นผู้นำทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางมาให้ทุกคนได้ใช้ ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานในปัจจุบันและบรรเทาปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ เช่น การลดการใช้เวลาในงานที่ต้องทำซ้ำๆ ด้วยการใช้เวิร์กโฟลว์อัตโนมัติ และการอัปเกรดโครงสร้างพื้นฐานแบบเดิมให้รับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่นภาคการเงิน การส่งเสริมทำงานร่วมกันทั่วทั้งองค์กรเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อปลูกฝังวัฒนธรรมการทำงานที่ครอบคลุม นอกจากนี้การอนุญาตให้แชร์ไอเดียได้อย่างอิสระจะช่วยให้ผู้นำสามารถนำองค์กรสู่นวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่มากขึ้นได้

คำตอบต่อการค้นหาเส้นทางความซับซ้อนทางธุรกิจในเอเชียแปซิฟิก
เอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเทศจำนวนมากในภูมิภาคนี้กำลังเผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน เช่น Economist Impact รายงานว่า ออสเตรเลียกำลังอยู่ในช่วงเวลาแห่งความซบเซาทางเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากความท้าทายด้านแรงงานสูงวัย การพึ่งพาการส่งออกของไต้หวันกำลังส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจระยะสั้นท่ามกลางอุปสงค์ของโลกที่ชะลอตัว ทั้งนี้องค์กรต่างเผชิญกับความจำเป็นที่ต้องใช้จ่ายอย่างประหยัด แม้ว่าส่วนใหญ่ต้องการลงทุนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อรับมือกับสภาพแวดล้อมที่ท้าทายก็ตาม การที่องค์กรต่างๆ อาจพยายามลดความเสี่ยงจากแรงต้านเหล่านี้ด้วยการตัดการลงทุนทางเทคโนโลยีหรือโครงการต่างๆ ที่ขับเคลื่อนนวัตกรรม ความซับซ้อนและอุปสรรคเหล่านี้ทำให้บทบาทของผู้นำทางธุรกิจอยู่ในความสนใจมากว่าจะสามารถนำธุรกิจ สร้างคุณค่าและนวัตกรรมให้กับองค์กรตนได้อย่างไรด้วยทรัพยากรที่ลดลง บริษัทต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิกพบว่ามีความสามารถทางการแข่งขันเพิ่มขึ้น มีผลผลิตและประสิทธิภาพในการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น คลาวด์คอมพิวติ้งและ generative AI เพิ่มขึ้น

การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเช่นโอเพ่นซอร์สเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้องค์กรเตรียมพร้อมรับอนาคต และเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับองค์กร บริษัทในประเทศสิงคโปร์มีความก้าวหน้าในการนำเทคโนโลยีไปขับเคลื่อนแนวทางการทำงานแบบใหม่อย่างมาก โดย 72% ของบริษัทเหล่านี้ใช้หลักการและเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สล้ำหน้าอย่างมาก และเป็นอัตราการใช้ที่สูงที่สุดในภูมิภาค โอเพ่นซอร์สวางพื้นฐานให้กับเทคโนโลยีเกิดใหม่จำนวนมาก เพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน เพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพให้กับองค์กรต่างๆ และ adaptive leader ตระหนักถึงความมีประสิทธิภาพของโซลูชันและความคิดก้าวหน้าของโอเพ่นซอร์ส

บทความโดย มาร์เจ็ต แอนดรีซ, รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป, เร้ดแฮท เอเชียแปซิฟิก

 

Share: