ทำไมการเลือกใช้เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน (SAF) จึงจำเป็นสำหรับความยั่งยืนด้านการบินในปัจจุบัน: ธุรกิจต่างๆ จะสามารถเข้าถึง SAF และใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร
เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel – SAF) ถือเป็นทางออกที่เหมาะสมที่สุดในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคธุรกิจการบิน โดยเชื้อเพลิง SAF ผลิตจากทรัพยากร (feedstock) ที่หมุนเวียนและยั่งยืน เช่น น้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้ว ไขมันสัตว์ และของเหลือทิ้งจากผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งเชื้อเพลิง SAF เป็นหนึ่งในแหล่งพลังงานที่มีความเหมาะสมอย่างมากในการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนในอุตสาหกรรมการบินจากความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและการสร้างอิมแพคต่อสิ่งแวดล้อม โดยจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 80% เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงเครื่องบินแบบเก่า ดังนั้นจึงนับเป็นเครื่องมือสำคัญในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association – IATA) ประมาณการว่า SAF จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมการบินได้ถึง 65% ตามเป้าหมายการลดคาร์บอนสุทธิให้เหลือศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593
เชื้อเพลิง SAF มีข้อดีหลายประการที่เหนือกว่าเชื้อเพลิงเครื่องบินแบบเก่า ซึ่งรวมถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีนัยสำคัญ ลดการปล่อยฝุ่นละออง และปรับปรุงคุณภาพอากาศให้ดีขึ้น ในการใช้งาน ต้องนำ SAF ไปผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินที่มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลแบบดั้งเดิม ทำให้ SAF เป็นเชื้อเพลิงแบบดรอปอิน (drop-in fuel) ที่ผสมกับน้ำมันเครื่องบินทั่วไปโดยไม่ต้องปรับแต่งใดๆ ปัจจุบันอัตราส่วนการผสมสูงสุดของเชื้อเพลิง SAF อยู่ที่ 50% โดยปล่อยคาร์บอนที่ถูกดูดซับด้วย feedstock ทําให้ SAF เป็นกลางทางคาร์บอนเกือบสมบูรณ์
ปัจจุบัน อุตสาหกรรมการบินเป็นแหล่งผลิตก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ และจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินมาตรการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2593 การผลักดันการใช้เชื้อเพลิง SAF มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหานี้โดยทันที และขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการบินไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ‘การผลิต SAF ที่จำกัด’ คืออุปสรรคสําคัญต่อการนําไปใช้อย่างแพร่หลาย ต่อไปนี้คือแนวทางที่องค์กรธุรกิจต่างๆ จะสามารถซื้อ SAF และใช้ประโยชน์จากเชื้อเพลิงนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ธุรกิจต่างๆ จะเข้าถึง SAF ได้อย่างไร
เช่นเดียวกับที่ผู้บริโภคไม่สามารถควบคุมแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ส่งเข้าบ้านของตนได้ ผู้ซื้อตั๋วเครื่องบินหรือบริการขนส่งทางอากาศก็ไม่สามารถควบคุมเชื้อเพลิงที่ใช้ในเครื่องบินได้เช่นกัน และนั่นคือที่มาของ ‘ใบรับรองการใช้เชื้อเพลิง SAFc (SAF Certificate)’ ซึ่งมีแบบอย่างมาจากใบรับรองคุณลักษณะด้านพลังงาน (Energy Attribute Certificate – EAC) ช่วยให้ตลาดมีอำนาจขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง และกระตุ้นความต้องการพลังงานหมุนเวียน บริษัทและบุคคลทั่วไปสามารถซื้อใบรับรองการใช้เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของตนเองได้
ทั้งหมดนี้ดำเนินการผ่านระบบบัญชี ‘Book and Claim’ ที่ตรวจสอบติดตามและถ่ายโอนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยเชื้อเพลิงที่ยั่งยืน ครอบคลุมทุกส่วนของ value chain โดยผู้ซื้อสามารถทำการ ‘จอง’ ปริมาณเชื้อเพลิงที่ยั่งยืน ณ เวลาที่ซื้อ จากนั้นก็ ‘อ้างสิทธิ์’ ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายความยั่งยืนของตน ผู้ซื้อจะได้รับ ‘ใบรับรอง’ ที่ผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานอิสระเมื่อซื้อเชื้อเพลิงที่ยั่งยืนผ่านระบบ Book and Claim ดังนั้นถึงแม้ว่าพัสดุหรือสินค้าของพวกเขาอาจไม่ได้จัดส่งในเครื่องบินขนส่งสินค้าที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงที่ยั่งยืน แต่ “ผู้อื่น” สามารถใช้เชื้อเพลิงที่ยั่งยืนแทนได้ในทุกที่ของโลก ดังนั้นการซื้อในลักษณะเช่นนี้จึงเป็นการทดแทนการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล และลดการปล่อยก๊าซจากการขนส่งโดยรวม และผู้ซื้อจะได้รับเครดิตจากการดำเนินการดังกล่าวด้วย
ด้วยเหตุนี้ ผู้ซื้อจึงเป็นเจ้าของผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมจากการใช้เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืนโดยไม่จำเป็นต้องครอบครองเชื้อเพลิงโดยตรง ด้วยการซื้อและขายใบรับรอง SAFc บริษัทต่างๆ จะสามารถเป็นเจ้าของผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมผ่านการใช้ SAF แม้ว่าเชื้อเพลิง SAF จริงๆ อาจไม่ได้ถูกใช้ในเครื่องบินที่บรรทุกสินค้าของบริษัทนั้นๆ ก็ตาม ระบบนี้เปิดโอกาสให้ทุกคนในอุตสาหกรรมสามารถเข้าถึงตลาดเชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืนได้ ไม่ว่าบริษัทจะตั้งอยู่ที่ไหนในโลกหรือขนาดขององค์กรจะเล็กหรือใหญ่ ใบรับรอง SAFc ที่จัดส่งผ่านระบบ ‘Book and Claim’ ยังช่วยลดทั้งต้นทุนในการขนส่งและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากไม่ต้องขนส่งเชื้อเพลิงจริงไปทั่วโลก ทำให้ SAFc เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการช่วยลดคาร์บอนในอุตสาหกรรมการบินในเวลานี้
ร่วมมือกับพันธมิตรที่มีความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนความต้องการ SAF
ธุรกิจต่างๆ จะสร้างอุปสงค์หรือดีมานด์ที่จำเป็นในการเพิ่มอุปทานหรือซัพพลายได้อย่างไร คำตอบก็คือการผนึกกำลังร่วมกับบริษัทและองค์กรที่มีแนวคิดคล้ายกัน ร่วมมือกับพันธมิตรที่มีความมุ่งมั่นและนำเสนอโซลูชั่นที่ยั่งยืนมากขึ้นให้แก่ลูกค้า โดยแต่ละความร่วมมือถือเป็นก้าวสำคัญในการเดินทางสู่ความยั่งยืน
แนวทาง ‘Book and Claim’ ช่วยเพิ่มความโปร่งใสและความรับผิดชอบในการใช้เชื้อเพลิงที่ยั่งยืน โดยทำให้มั่นใจได้ว่าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับแต่ละเครดิตได้ถูกโอนและตรวจสอบโดยบุคคลที่สามอย่างถูกต้อง
ดังนั้น บริษัทต่างๆ สามารถซื้อ SAFc และใช้ประโยชน์จากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมทั้งขยายคุณลักษณะด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Attributes) ไปสู่ลูกค้าผ่านการให้บริการ เช่น DHL GoGreen Plus นอกจากนี้ยังให้ทางเลือกแก่บริษัทต่างๆ ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งด้วยการใช้ SAF และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตาม Scope 3 ด้วยการดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้:
1) บริษัทตัดสินใจว่าต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณเท่าไร และจะลงทุนใน SAF เป็นจำนวนเท่าไร
2) ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส จะนำปริมาณดังกล่าวไปร่วมลงทุนใน SAF และผู้ตรวจสอบอิสระจะตรวจสอบมูลค่าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ SAF ในแต่ละปี รวมถึงการยืนยันว่าการลงทุนทั้งหมดได้ถูกใช้สำหรับ SAF เท่านั้น
3) บริษัทจะได้รับใบรับรองการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สามารถนำไปใช้ในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ตาม Scope 3 ได้
4) บริษัทจะได้รับรายงานการปล่อยก๊าซคาร์บอนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
เมื่อต้นปี 2565 ดีเอชแอลได้ประกาศสองข้อตกลงด้านความร่วมมือเกี่ยวกับ SAF ที่ใหญ่ที่สุด นั่นคือ การร่วมมือกับ bp และ Neste ในการซื้อเชื้อเพลิง SAF มากกว่า 800 ล้านลิตรจนถึงปี 2569 และในปี 2566 ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส และ World Energy ยังได้ลงนามในข้อตกลงระยะเวลา 7 ปี ซึ่งจะมีผลจนถึงปี 2573 เพื่อเร่งการลดคาร์บอนด้วยการซื้อ SAF ประมาณ 668 ล้านลิตรผ่าน SAFc นอกจากนี้ ดีเอชแอลยังทำงานร่วมกับ Neste และ ISCC เพื่อพัฒนาระบบใหม่ ซึ่งช่วยให้สายการบิน ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ และลูกค้าปลายทางสามารถรายงานการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เมื่อมีการซื้อ SAF
เฮอร์เบิร์ต วงศ์ภูษณชัย กรรมการผู้จัดการดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทยและหัวหน้าประจำภูมิภาคอินโดจีน กล่าวว่า “ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรสมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับธุรกิจขนส่งทางอากาศ ปัจจุบันเราเป็นผู้ให้บริการขนส่งด่วนระหว่างประเทศเพียงรายเดียวที่ใช้เชื้อเพลิง SAF ในการขนส่งสินค้าทางเครื่องบินเพื่อการส่งออกและนำเข้า เราสามารถช่วยลูกค้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และสนับสนุนอนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้นด้วยการร่วมมือกับผู้ผลิต SAF ชั้นนำและผู้ให้บริการโซลูชั่นคาร์บอนต่ำ เราวางแผนจะเพิ่มการใช้ SAF มากกว่า 30% ภายในปี 2573 และภายในปี 2593 เราตั้งเป้าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทั้งหมดให้เหลือศูนย์ (Net Zero) โดยปัจจุบันการดำเนินการของเรามีความก้าวหน้าอย่างมาก หากองค์กรอื่นๆ ทำแบบเดียวกันนี้ อุปทานของเชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืนก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เราจึงมุ่งหวังที่จะผลักดันการใช้เชื้อเพลิง SAF ให้แพร่หลายในอุตสาหกรรม”
บทความโดย ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทย